วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ต่อต้านการเกิด : คนที่มีแนวคิดไม่อยากให้ทารกเกิดมาในโลกนี้

ต่อต้านการเกิด
BBC คนที่มีแนวคิดต่อต้านการเกิด เชื่อว่า มนุษย์ไม่ควรมีลูก พวกเขาต้องการผลักดันแนวคิดนี้ไปถึงขั้นไหน

ต่อต้านการเกิด : คนที่มีแนวคิดไม่อยากให้ทารกเกิดมาในโลกนี้ – BBCไทย

“น่าจะปล่อยระเบิดสักลูกลงไปใจกลางโลกแล้วก็ปล่อยให้ทุกอย่างจบสิ้นลงดีกว่าไหม” โทมัส วัย 29 ปี อาศัยอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษ กล่าวติดตลก
แม้ว่าความคิดระเบิดโลกของเขาจะเป็นเพียงเรื่องที่ลองคิดเล่น ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เขาเชื่อมั่นจริง ๆ ก็คือ มนุษย์ไม่ควรมีลูก เผ่าพันธุ์ของเราควรค่อย ๆ สูญไป
หลักปรัชญานี้มีชื่อว่า แนวคิดต่อต้านการเกิด (anti-natalism) แนวคิดนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และเพิ่งมีการพูดถึงกันมากขึ้นทางโซเชียลมีเดียเมื่อไม่นานมานี้
มีการตั้งกลุ่มนักต่อต้านการเกิดหลายสิบกลุ่มทางเฟซบุ๊กและเรดดิต บางกลุ่มมีสมาชิกหลายพันคน กลุ่ม r/antinatalism ในเรดดิตมีสมาชิกราว 35,000 คน ส่วนกลุ่มนักต่อต้านการเกิดกลุ่มหนึ่งในจำนวนหลายสิบกลุ่มทางเฟซบุ๊ก มีสมาชิกมากกว่า 6,000 คน
ผู้คนเหล่านี้กระจายตัวอยู่ทั่วโลก และมีหลากหลายเหตุผลสนับสนุนความเชื่อนี้ของพวกเขา หนึ่งในนั้นคือ ความกังวลเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การไม่ต้องการให้เด็กต้องมาทนทุกข์ทรมาน แนวคิดเรื่องการยินยอมพร้อมใจ และความกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับจำนวนประชากรที่มากเกินไปและสิ่งแวดล้อม
แต่พวกเขามีความปรารถนาเดียวกันคือ ต้องการให้มนุษย์ยุติการให้กำเนิด แม้ว่าจะเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวชายขอบ แต่มุมมองของพวกเขาบางอย่าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องสภาวะที่โลกเผชิญอยู่ กำลังได้รับการถกเถียงในคนหมู่มากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ด้านเจ้าชายแฮร์รี ดยุคแห่งซัสเซกซ์ แม้จะไม่ได้มีแนวคิดต่อต้านการเกิด แต่พระองค์และพระชายาทรงวางแผนที่จะมีองค์ทายาทไม่เกิน 2 พระองค์ เพราะทรงมีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม

การถกกันด้วยเหตุผล

โทมัสไม่เคยได้ยินคำว่า แนวคิดต่อต้านการเกิดมาก่อน จนกระทั่งมีคนใช้คำนี้เรียกแนวคิดของเขาในช่องแสดงความคิดเห็นทางยูทิวบ์ เมื่อ 2-3 ปีก่อน นับจากนั้น เขาก็กลายเป็นสมาชิกของกลุ่มนักต่อต้านการเกิดทางเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นพื้นที่กระตุ้นให้เขาได้คิดและใช้เหตุผล และลองใช้ทักษะในการอภิปราย
“ผมคิดว่า มันดีมากเลย คุณได้ถกปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตจริง” เขากล่าว “คุณได้ความคิด สมมุติว่า มนุษย์สูญพันธุ์จริง ๆ แล้วถ้ามนุษย์มีวิวัฒนาการกลับมาอีกครั้งล่ะ คุณก็แก้ปัญหาไม่ได้จริง ๆ”
“มีการถกเถียงกันมาก บางเรื่องก็ค่อนข้างละเอียดอ่อน”
แต่การที่เขาไม่ต้องการให้มนุษย์เกิดมา ไม่ได้เป็นเพียงหลักทฤษฎี เขาเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ทุกชีวิตไร้ความหมายแล้วเขาก็พยายามขอรับการทำหมันด้วยการตัดท่อส่งอสุจิที่บริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service–NHS) ของอังกฤษ แต่แพทย์ไม่ยอมทำให้ โดยแพทย์ของ NHS สามารถปฏิเสธการทำหมันได้ ถ้าเห็นว่า การทำเช่นนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อคนไข้

ไม่รุนแรงและการยินยอมพร้อมใจ

แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันโดยใช้ถ้อยคำที่ปราศจากความเชื่อตามหลักศาสนาในกลุ่มนักต่อต้านการเกิด แต่ก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า พวกเขาเป็นภัยคุกคามที่อาจทำให้เกิดความรุนแรง เมื่อพวกเขาพูดถึงเรื่องการสูญพันธุ์ พวกเขาก็ดูเหมือนว่า กำลังฝึกอภิปรายกันมากกว่า ไม่มีใครในกลุ่มออนไลน์ขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงหรือฆาตกรรม
โทมัสจินตนาการว่า ถ้ามีปุ่มสีแดงขนาดใหญ่ที่ยุติชีวิตมนุษย์ได้ เขาบอกว่า เขาจะ “กดปุ่มนั้นทันที” แนวคิดของเขาในการระเบิดหลุมใจกลางโลกนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะหลักการต่อต้านการเกิดอย่างหนึ่งก็คือ การยินยอมพร้อมใจ
พูดง่าย ๆ ก็คือ การกำเนิดชีวิต หรือทำลายชีวิต จำเป็นต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากผู้ที่จะเกิดหรือจะตายก่อน
เคิร์ก ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองซานอันโตนิโอ รัฐเทกซัส ของสหรัฐฯ บอกว่า เขาจำบทสนทนาที่คุยกับแม่ตอนที่เขาอายุเพียง 4 ขวบได้ แม่บอกเขาว่า การมีลูกเป็นทางเลือก
“นั่นดูไม่มีเหตุผลสำหรับผม การเลือกให้กำเนิดคนที่ไม่ได้มีความจำเป็นหรืออยากจะเกิดมาก่อนที่จะมีการปฏิสนธิ แล้วให้เขามาเผชิญกับความทุกข์แล้วก็ตายไป” เขากล่าว
เคิร์ก กล่าวว่า แม้จะอายุน้อยเพียงแค่นั้น เขาก็กลายเป็นคนที่มีแนวคิดต่อต้านการเกิดแล้ว เขาต่อต้านการให้กำเนิดมนุษย์ เพราะแน่นอนว่า ไม่มีใครในบรรดาพวกเราที่ถูกถามว่า เราอยากจะมาอยู่ตรงนี้หรือไม่”
“ถ้าแต่ละคนเลือกที่จะยินยอมในการเล่นเกมชีวิตได้ ส่วนตัวผมก็คงจะไม่คัดค้านเรื่องนี้” เขาสรุปว่า “มันขึ้นอยู่กับมีการยินยอมพร้อมใจหรือไม่”
แนวคิดนี้ใช้ได้ผลในทางกลับกัน กับเรื่องของปุ่มทำลายล้างมนุษย์ เพราะว่ามีคนจำนวนมากที่มีความสุขกับการใช้ชีวิต ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ยินยอมที่จะให้ชีวิตของตัวเองถูกทำลาย เคิร์กและนักต่อต้านการเกิดส่วนใหญ่ จึงต้องการให้คนสมัครใจที่จะยุติการให้กำเนิดมากกว่า
นิ้วมือเตรียมกดปุ่มสีแดงทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์
BBC

ปัญหาสุขภาพจิต

สิ่งที่เห็นบ่อย ๆ ในกลุ่มต่อต้านการเกิดก็คือ ผู้ที่โพสต์มักจะเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตของตัวเอง และบางครั้งก็กล่าวโจมตีผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่มีลูก
มีคนหนึ่งได้โพสต์รูปหน้าจอของอีกโพสต์หนึ่งที่มีข้อความว่า “ฉันมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง นอกเหนือจากที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วและโรควิตกกังวลทั่วไป” นักต่อต้านการเกิดผู้นั้นได้แสดงความเห็นว่า “คนคนนี้มีลูก 2 คน ผม(ฉัน) รู้สึกสงสารเด็กจัง”
ในอีกกลุ่มหนึ่ง มีการแสดงความเห็นที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า มีคนกำลังคิดเรื่องฆ่าตัวตาย
“ผมเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) และซึมเศร้า (depression)” โทมัสอธิบาย “โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวผมด้วย ผมคิดว่า ถ้าผมมีลูก มีความเป็นไปได้สูงที่พวกเขาจะเป็นโรคซึมเศร้า และไม่มีความสุขในชีวิต”
แต่เขาบอกว่า คนภายนอกมักจะเข้าใจกลุ่มนักต่อต้านการเกิดในทางที่ผิดอยู่บ่อย ๆ
“คนเริ่มมองว่า เราเป็นพวกมีปัญหาทางจิตรุนแรง” เขาบอกว่า ความจริงแล้วมันมีความซับซ้อนมากกว่านั้น
ภาพวาดผู้ชายกำลังกุมศีรษะ
BBC
ช่วยปกป้องโลก ?
เหตุผลที่กลุ่มต่อต้านการเกิดใช้สนับสนุนแนวคิดของตัวเองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบรุนแรงที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อพิจารณาจากโพสต์ต่าง ๆ ในกลุ่มต่อต้านการเกิด มีการคาบเกี่ยวกันระหว่างแนวคิดของพวกเขากับแนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่มาก
“ฉันรู้สึกว่า เป็นการเห็นแก่ตัวที่จะมีลูกในตอนนี้” แนนซี ซึ่งเป็นวีแกน นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์ นักรณรงค์งดใช้พลาสติก และครูสอนโยคะจากฟิลิปปินส์ กล่าว “ความเป็นจริงก็คือ เด็ก ๆ ที่เกิดมาในโลกนี้ กำลังสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมมากกว่า”
ในกลุ่มเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า “very angry anti-natalists” มีการแชร์คำร้องที่พวกเขาต้องการยื่นต่อองค์การสหประชาชาติ ชื่อของคำร้องนั้นคือ “ประชากรล้นเป็นต้นตอของภัยพิบัติทางสภาพอากาศ ควรยุติการเกิดทั่วโลกทันที” จนถึงตอนนี้มีคนร่วมลงชื่อแล้ว 27,000 รายชื่อ
แนวคิดที่ว่า การหยุดมีลูกจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอังกฤษมีองค์กรการกุศลแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Population Matters ได้เสนอแนวคิดนี้มานานหลายปีแล้ว พวกเขาไม่ได้เป็นนักต่อต้านการเกิด และในความเป็นจริง พวกเขาสนับสนุนการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ไม่ใช่การทำให้มนุษย์สูญพันธุ์
“เป้าหมายของเราคือ การหาจุดที่ลงตัวระหว่างเผ่าพันธุ์มนุษย์และโลกที่เราบังเอิญได้มาอยู่อาศัย” โรบิน เมย์นาร์ด ผู้อำนวยการองค์กรนี้ กล่าว “ถ้าคนทั่วโลกมีลูกน้อยลง มีครอบครัวขนาดเล็กลง เราก็จะสามารถมีจำนวนประชากรที่มีความยั่งยืนได้มากขึ้น”
แต่จำนวนประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้นนำไปสู่การสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไปหรือไม่ สเตฟานี เฮการ์ที ผู้สื่อข่าวประชากรโลก ของบีบีซี บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวเช่นนั้น เพราะยากที่จะคาดการณ์อนาคต
“จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง ประชากรโลกจะอยู่ที่ระดับ 1.1 หมื่นล้านคนในอีก 80 ปี” เธอกล่าว “โลกจะรองรับไหวหรือไม่ เราไม่รู้”
“มีหลายปัจจัยที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทศวรรษหน้าและศตวรรษหน้า ที่เราไม่สามารถทำนายได้ในตอนนี้”
กลุ่มคนยืนอยู่ด้านนอกโรงงาน
BBC

คำดูหมิ่นและข้อโต้แย้ง

ในการอภิปรายกันตามหลักจริยศาสตร์และหลักปรัชญาอย่างดุเดือดในกลุ่มต่อต้านการเกิดกลุ่มต่าง ๆ ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่แสดงความเห็นอย่างไม่เหมาะสม บางคนเรียกคนที่มีลูกว่า “พ่อพันธุ์แม่พันธุ์” หลายคนที่ใช้คำพูดต่อว่า เด็ก ๆ โดยตรง
“เมื่อไหร่ที่ฉันเห็นผู้หญิงท้อง ขยะแขยงคือความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้น” ผู้ใช้งานคนหนึ่งเขียน พร้อมกับแนบภาพที่มีข้อความว่า “ฉันเกลียดท้องที่มีเด็ก”
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนที่มีความคิดต่อต้านการเกิดทุกคนเกลียดเด็ก
“ฉันคงบอกว่า ส่วนตัวแล้วฉันชอบเด็ก แล้วก็เพราะฉันชอบเด็ก ฉันก็เลยไม่อยากให้เด็กทุกข์ทรมาน” แนนซี กล่าว “บางทีการทำให้เด็ก ๆ เกิดมา อาจทำให้ฉันรู้สึกมีความสุขอยู่บ้าง แต่การที่เขาต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เป็นไปได้หลายอย่าง ฉันเลยไม่แน่ใจว่า มันจะคุ้มกันหรือเปล่า”
แต่นั่นไม่ใช่ข้อโต้แย้งเพียงอย่างเดียวที่เกิดขึ้น ในกลุ่มต่อต้านการเกิดบางกลุ่ม สมาชิกกลุ่มเสนอแนวคิดว่า ไม่ควรให้เด็กเกิดมาในเขตสงคราม ถ้ามีโอกาสสูงที่จะพิการ หรือแม้แต่พ่อแม่ที่มีรายได้ต่ำ ก็ไม่ควรมีลูก บางครั้งมีการใช้ถ้อยคำที่ดูเหมือนจะเป็นการคัดเลือกพันธุ์ หรือ การปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรม
นักต่อต้านการเกิดที่เราได้พูดคุยด้วย มีความรู้สึกที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับแนวคิดเหล่านี้
“แรงจูงใจของพวกเขาในการมีลูกคืออะไร” โทมัสกล่าวเมื่อถูกถามว่า เขากังวลเกี่ยวกับเด็กที่เกิดมาในพื้นที่สงครามหรือไม่ “ในประเทศแบบนั้น มีความหวังน้อยที่สิ่งต่าง ๆ จะกลับมาดีขึ้น”
เขาดูจะไม่เป็นกังวลนักเกี่ยวกับเด็กที่เกิดในครอบครัวที่รายได้ต่ำ
“ชัดเจนว่า ผมต่อต้านการมีลูก…แต่ผมคิดว่า คุณอาจมีความสุขได้ ในพื้นที่ที่มีรายได้ต่ำ”
“แนวคิดต่อต้านการเกิดของฉัน ไม่มีข้อยกเว้น” แนนซี กล่าว เธอต่อต้านการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรม “ทำไมเราเลือกคนบางกลุ่มเพราะพวกเขาอยู่ในจุดที่ด้อยกว่า”
แล้วนักต่อต้านการเกิดมีปรัชญาชีวิตทั่วไปหรือเปล่า
“ทำให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้” เคิร์ก กล่าว “ทำดี แล้วก็อย่ามีลูก”
วาดภาพประกอบโดย เจอราร์ด กรูฟส์
ผู้สนับสนุน : newsthe1  gclubtheone

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

news

เกาะติดข่าว ข่าววันนี้ ข่าวด่วน ข่าวออนไลน์ newsthai ข่าวล่าสุด ข่าวทันเหตุการณ์

FACEBOOK