ฮ่องกงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เหตุใดความสิ้นหวังจึงเป็นพลังขับเคลื่อน
ฮ่องกงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เหตุใดความสิ้นหวังจึงเป็นพลังขับเคลื่อน
ฮ่องกงมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร – เอ็นเอชเค สื่อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น รายงานเบื้องหลังสถานการณ์การประท้วงในฮ่องกงด้วยมุมมองของชาวเอเชียด้วยกัน ในชื่อเรื่อง Desperation driving Hong Kong’s protesters – ความสิ้นหวังขับเคลื่อนผู้ประท้วงในฮ่องกง
จุดเริ่มต้นของการประท้วงใหญ่ในฮ่องกงเกิดจากความต้องการคัดค้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ลึกๆ ในใจของชาวฮ่องกงต่างกลัวว่าประชาธิปไตยในฮ่องกงอาจถูกคุกคาม และการประท้วงครั้งนี้อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะเรียกร้องประชาธิปไตย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ตำรวจบุกสนามบินฮ่องกง ปะทะเดือดผู้ประท้วง ทรัมป์หวังไม่มีใครตาย
- ทรัมป์ยันได้รับรายงาน จีนเคลื่อนกำลังเข้าประชิดฮ่องกง
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 ก.ค. กลุ่มผู้ประท้วงจ้องมองอาคารสภานิติบัญญัติเพื่อหาชายคนหนุ่มคนหนึ่งซึ่งโพสต์ข้อความฆ่าตัวตายไว้ในสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากเมื่อเดือนมิถุนายนมีผู้ชายอีกคนหนึ่งฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงมาจากตึกเดียวกัน
ชายที่ปลิดชีวิตตัวเองไม่ได้ตายอย่างโดดเดี่ยวเพราะยังมีผู้ประท้วงอีก 3 คนที่สละชีวิตตัวเองพร้อมกับทิ้งข้อความประท้วงรัฐบาลฮ่องกงว่าพวกเขา “รู้สึกสิ้นหวัง” “รัฐบาลไม่เคยฟังเสียงพวกเราเลย” และ “ผมเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้และรู้สึกว่าช่วยอะไรไม่ได้เลย”
ความสิ้นหวังปลุกพลังประท้วง
หลังจากนั้น ชาวฮ่องกงหลายพันคนชุมนุมล้อมกรอบอาคารนิติบัญญัติ บางคนบุกโจมตี ทุบกระจกหน้าต่าง พ่นสีเป็นลายกราฟิตี้ ก่อนที่จะถูกตำรวจสลายการชุมนุม
เดนนิส เฉิง อายุ 30 ปี อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย เขาบอกว่าคนที่บุกเข้าไป เตรียมใจมาแล้วว่าจะสละชีวิตและสั่งเสียคนอื่นให้ดูแลครอบครัวด้วย หากเขาเสียชีวิตลง
หลังจากเหตุการณ์โจมตีสภานิติบัญญัติผ่านไปได้ 2 วัน เฉิงเรียกร้องให้ผู้ประท้วงฟังเสียงของคนรุ่นใหม่และโน้มน้าวให้เห็นว่าการทำลายทรัพย์สินของรัฐไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แต่จำเป็นต้องทำเพื่อให้รัฐหันมาฟังเสียงบ้างเพราะพวกเขาล้วนสิ้นหวัง
บางคนพ่นสีใส่เสาในสภานิติบัญญัติว่า “คุณสอนให้เราคิดว่าการประท้วงโดยสันติไม่มีประโยชน์อันใด”
วันที่ 9 ก.ค. นางแคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงประกาศว่ากฎหมายดังกล่าวตายแล้ว แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าถอนกฎหมายหรือไม่ ชาวฮ่องกงจึงมองว่าทำไปเพื่อประจบเอาใจจีนแผ่นดินใหญ่และยิ่งทำให้ประชาชนยิ่งหมดหวังกับรัฐบาล
จีนปกครองฮ่องกงโดยใช้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ตั้งแต่ปี 2540 – 2590 แต่จีนยังคงมีอิทธิพลต่อเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เห็นได้จากที่นั่งในสภานิิบัญญัติทั้งหมด 70 ที่นั่ง ในจำนวนนี้ 35 ที่นั่งถูกจัดสรรให้เป็น ส.ส.ที่สวามิภักดิ์ต่อจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่อีก 35 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
2 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้สมัครที่สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยเป็นฝ่ายแพ้ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้แยกประเทศทำให้ผู้ประท้วงวัยหนุ่มสาวเห็นว่าเป็นระบบที่ไม่ยุติธรรมเพราะนโยบายการเมืองในฮ่องกงไม่ได้มาจากเสียงของชาวฮ่องกงเอง
ผู้ประท้วงจำนวนมากอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรืออายุ 20 ต้นๆ ซึ่งเกิดในช่วงที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกจีนและเติบโตท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยจีนแผ่นดินใหญ่มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประท้วงจึงเกรงว่า หากรัฐบาลไม่รักษาสัญญา ในที่สุด ฮ่องกงอาจแพ้หมดรูป
จงเป็นดั่งสายน้ำ
ปี 2557 ฮ่องกงประท้วงใหญ่ภายใต้ชื่อว่า “ประท้วงร่มเหลือง” เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปการเลือกตั้ง แต่ลงเอยด้วยการจับกุมผู้ประท้วงเพราะการประท้วงขาดแกนนำ
ครั้งนี้ หนุ่มๆ สาวๆ ร่วมกันวางแผนและคัดสรรผู้สมัครทางสื่อสังคมออนไลน์และเรียกกลยุทธนี้ว่า “จงทำตัวเป็นดั่งสายน้ำ” ตามคำของบรูซ ลี ที่ใช้ในการต่อสู้เพราะน้ำเปลี่ยนรูปร่างและสถานะได้
ขณะที่อเล็กซ์ เหลา อายุ 26 ปี ถ่ายรูปการประท้วงแล้วโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้เข้าไปดูเว็บตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป
กำแพงเลนนอน
อีกกลยุทธหนึ่งคือ “กำแพงเลนนอน” โดยผู้ประท้วงจะเขียนความคิดในกระดาษแผ่นเล็กๆ และติดไว้บนกำแพงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหรือใต้ทางยกระดับ
ต้นกำเนิดความคิดนี้เร่ิมขึ้นเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน หนุ่มสาวในยุคนั้นรำลึกถึง จอห์น เลนนอน นักดนตรีผู้ล่วงลับด้วยการเขียนข้อความไว้บนกำแพงในกรุงปราก สาธารณเช็ก ซึ่งเป็นพลังการประท้วงเงียบอย่างหนึ่ง
ขณะนี้ มีกำแพงเลนนอนกว่า 50 แห่งทั่วฮ่องกง รวมทั้ง ทางเดินในสถานีรถไฟใต้ดินระยะทางกว่า 50 เมตร คนที่มาอ่านและเขียนข้อความบอกว่ารู้สึกเหมือนกับได้สื่อสารกับคนอื่นที่ผิดหวังรัฐบาลเหมือนกันแต่ข้อความบนกำแพงมีทั้งคนที่ชื่นชอบและไม่ชอบ บางคนถึงกำลังเผากำแพงเสียเลย
ความแตกแยกในฮ่องกงเห็นได้อย่างชัดเจน จนกว่าผู้นำจะหันมาฟังเสียงพลเมืองทุกคนและมีแผนที่จะเดินไปด้วยกันในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น